หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความหมายและความสำคัญการดูแลสุขภาพทางเพศ

ความหมายของการดูแลสุขภาพ




          สุขภาพทางเพศ หมายถึง การมีชีวิตทางเพศที่เป็นสุขปลอดภัยหรือรักษาร่างกายให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บหรือผิดปกติทางเพศทั้งร่างกายจิตใจและสังคมรวมไปถึงจิตวิญญาณ(Spiritual)ด้วยดังนั้นการดูแลสุขภาพทางเพศ หมายถึงความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศการป้องกันการเจ็บป่วยและการส่งเสริมสุขภาพทางเพศและความผิดปกติเกี่ยวกับอวัยวะเพศรวมทั้งการดูแลจิตใจและสังคมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเพศ

ความสำคัญการดูแลสุขภาพเพศ

สุขภาพทางเพศมีความสัมพันธ์กับสภาพร่างกายและสุขภาพจิตอย่างแน่นอน มนุษย์นอกจากเจ็บป่วย ด้วยโรคทางกายทางจิตใจแล้ว ยังอาจเจ็บป่วยหรือทุกทรมานจากความเป็นเพศของมนุษย์เอง ดังนั้นองค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของสุขภาพทางเพศเป็น 3 ใหญ่ๆในด้านร่างกาย จิตใจและสังคม รวมไปถึงจิตวิญญาณ(Spiritual)นั้นก็เริ่มมีการกล่าวถึงกันบ้างซึ่งก็เกี่ยวกับจิตสำนึกที่ถูกต้องที่ดีงามในเรื่องเพศดังนั้นการมีสุขภาพทางเพศจึงจัดกลุ่มให้เข้าใจง่ายดังนี้

1.      มีความสามารถที่จะเป็นสุขและควบคุมพฤติกรรมทางเพศของตนเองให้สอดคล้องกับจรรยาของสังคม และไม่ละเมิดศีลธรรมของผู้อื่น

2.   ปราศจากความรู้สึกกลัว อับอาย ละอายใจ ความหลงผิด และสภาวะทางจิตใจที่ยับยั้ง การตอบสนองทางเพศและทำให้สัมพันธภาพเสื่อมลง

3.    ปราศจากความผิดปกติทางร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บ และความบกพร่องต่างๆที่จะขัดขวางการทำหน้าที่ทางเพศ

ดังนั้นจะเห็นว่าการมีสุขภาพอนามัยทางเพศจะต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือแต่มีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งผิดปกติ ก็ถือว่าไม่มีสุขภาพทางเพศ การไม่มีสุขภาพอนามัยทางเพศก็ก่อให้เกิดปัญหาทางเพศตามมา ซึ่งพบในทางเพศหญิงและเพศชาย ดังนั้นการสอนเพศศึกษาจะต้องให้เห็นความสำคัญทางสุขภาพทางเพศ
          การที่จะมีสุขภาพทางเพศที่ดีย่อมหมายถึง การเดินสายกลางของการมีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรสในเวลาที่เหมาะสม ไม่ชิงสุกก่อนห่าม และมีการแบ่งปันซึ่งกันและกันด้วยความรักความเข้าใจการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ปราศจากการเสี่ยงต่อการติดเชื้อกามโรคและโรคเอดส์ละมีความเข้าใจในเรื่องการคุมกำเนิดเพื่ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ปรารถนา รู้จักยับยังช่างใจเมื่อไม่ถึงเวลา รู้จักเคารพในสิทธิส่วนบุคคลและให้เกียติเพศตรงข้ามโดยเฉพาะผู้เยาว์และผู้อ่อนแอกว่าทั้งหมดนี้ย่อมที่จะนำมาซึ่งการสุขภาพทางเพศที่สมบรูณ์ภายใต้ของเขตศีลธรรมจรรยาอันดีงาม (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2551)
          โดยนี้จะเน้นเรื่องสุขภาพในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย นั่นคือ ปราศจากการเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(การติดเชื้อกามโรคและโรคเอดส์)ซึ่งเป็นปัญหาของวัยรุ่น



ที่มา : สุวชัย อินทรประเสริฐ. (2535). การวางแผนครอบครัวประชากรและเทคโนโลยีการคุมกำเนิด. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
          นพ.วิชาญ ติปะวาโร. กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ศอ.4.  “ยาฉีดคุมกำเนิด”. [ออนไลน์].  hpe4.anamai.moph.go.th. [08 ต.ค. 2015].