การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ส่วนมากพบว่าผู้ที่นิยมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวโดยใช้ความรุนแรง จะมีประสบการณ์ชีวิตซึ่งถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เช่น ถูกทุบตี ตบหน้าหรือถูกลงโทษอย่างรุนแรง จากพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ภายในครอบครัว มีแนวทางการปฏิบัติตนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในครอบครัวโดยไม่ใช้ความรุนแรง ดังนี้
1) เรียนรู้วิธีการควบคุมอารมณ์ และระบายความโกรธ โดยไม่ทำร้ายผู้อื่น
2) ให้ความรักความเข้าใจต่อคนในครอบครัว
3) สร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่น เอาใจใส่ มีบรรยากาศของความเป็นมิตร
4) มีเทคนิคการหลีกเลี่ยงหรือการจัดการอย่างเหมาะสมเมื่อถูกก้าวร้าว
5) สร้างความภาคภูมิใจในครอบครัวและวงศ์ตระกูล
6) สร้างความมั่นคงในอารมณ์ มีความเชื่อมั่นใจตนเอง เพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
7) มีภูมิต้านทานแรงกดดันของพฤติกรรมก้าวร้าวจากบุคคลในครอบครัว
8) ลดความเครียด ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา นันทนาการ ดนตรี สวดมนต์ นั่งสมาธิ
9) ขอปรึกษาจากญาติหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ หรือหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเข้ามาไกล่เกลี่ยประนีประนอม เจรจาตกลงปัญหาความขัดแย้ง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความรุนแรง และยุติการใช้ความรุนแรง
10) ไม่ควรพูดยั่วยุ จนถึงขั้นทนไม่ได้
11) ควรตั้งกติกาครอบครัวเอาไว้ เช่น ไม่โกรธกันนานเกิน 1 อาทิตย์ ผู้ใดเป็นฝ่ายผิดต้องขอโทษก่อน และอีกฝ่ายต้องรีบให้อภัย และไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกเสียหน้า
12) ถ้าทนไม่ไหวต่อการยั่วยุจริงๆ ให้หลีกเลี่ยงการลงไม้ลงมือ โดยการเดินหนีไปสักระยะหนึ่ง เมื่อหายโกรธค่อยกลับมา
ถ้าทุกครอบครัวมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้น ไม่ควรปล่อยไว้ให้หมักหมมไว้ ควรหันหน้าเข้าพูดจากัน หาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันไม่ผลักภาระความรับผิดชอบให้ฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบ สื่อสารด้วยวาจาสุภาพอ่อนโยน ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหาแล้วความขัดแย้งต่างๆ จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นอันจะเป็นผลให้ครอบครัวมีความสุขสมบูรณ์ตลอดไป
ที่มา: สุวชัย อินทรประเสริฐ. (2535). การวางแผนครอบครัวประชากรและเทคโนโลยีการคุมกำเนิด. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
ที่มา: สุวชัย อินทรประเสริฐ. (2535). การวางแผนครอบครัวประชากรและเทคโนโลยีการคุมกำเนิด. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น