หน้าเว็บ

การวางแผนครอบครัว

การวางแผนครอบครัว




1. การเลือกคู่ครอง
เป็นการที่จะเริ่มต้นของการที่จะมีครอบครัวที่ดีการเลือกคู่ครองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากก็ว่าได้ เพราะการเลือกคู่ครองของคนสมัยนี้จะเลือกตามอารมณ์และความรู้สึกกันเป็นส่วนใหญ่  แต่ไม่นึกถึงความเป็นจริง ครั้นเมื่ออายุมากสังขารก็เปลี่ยนสภาพตามกาลเวลา หากไม่มีความเข้าใจซึ่งกันและกันแล้ว การหย่าร้างก็จะตามมา ทั้งนี้ การเลือกคู่ครองที่ถูกต้องนั้น เริ่มแรกคือใจต้องรักกันก่อน จากนั้นต้องมีการวางเป้าหมายในชีวิตร่วมกันต่อไป

2. การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย และอาชีพ
ที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ฉะนั้นจะต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนแต่งงาน เช่น แยกมาอยู่ด้วยกันตามลำพัง หรืออยู่กับครอบครัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผล และความจำเป็นของทั้งสองฝ่าย สำหรับอาชีพควรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้แน่นอน และเพียงพอที่จะดูแลครอบครัวได้

3. การแต่งงาน
เป็นประเพณีที่แสดงถึงการประกาศให้สังคมรับรู้ถึงการตกลงใจในการใช้ชีวิตร่วมกันของชายหญิง ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น และการจดทะเบียนสมรสเพื่อสิทธิตามกฎหมายของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม พิธีแต่งงานควรเป็นไปตามฐานะของคู่บ่าวสาวและไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
4. การปรับตัวเข้าหากัน
การที่คนสองคนซึ่งแตกต่างกันในที่มา นิสัยใจคอจะตกลงมาใช้ชีวิต อยู่ร่วมกันได้นั้น การปรับตัวเป็นเรื่อง สำคัญอย่างยิ่ง การที่คู่รักรู้จัก "การเสียสละ" จะช่วยพัฒนาความรักที่มีต่อกันให้ยืนยาวตลอดไป

5. การเงิน
คู่บ่าวสาวจำเป็นต้องนำเงินเดือนของเราทั้งสองคนมารวมกันก่อนเพื่อให้รู้รายรับที่แน่นอนของครอบครัว จากนั้น ให้เขียนถึงรายจ่ายของครอบครัวในหนึ่งเดือน และควรทำตารางรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจน

6. การวางแผนมีบุตร และการเว้นช่วงการมีบุตร
คือการเตรียมความพร้อมสำหรับมีบุตรว่าเมื่อแต่งงานกันแล้วต้องการจะมีบุตรกี่คน และเว้นระยะห่างกันนานแค่ไหน เลือกวิธีอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการคุมกำเนิด การวางแผนการเงิน และการวางอนาคตบุตร ตลอดจนการเว้นช่วงการมีบุตร เพื่อให้ผู้เป็นแม่ได้พื้นฟูสุขภาพร่างกาย ก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป  ที่สำคัญก็คือไม่ควรมีบุตรเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือถี่เกินไป จะทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงดูและให้ความอบอุ่น แก่ลูกได้อย่างทั่วถึง
7. การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี
เพื่อให้บุตรเติบโตมาเป็นคนดี มีคุณภาพ และมีความสุข ผู้ที่เป็นพ่อแม่จะต้องต้องเตรียมตัวที่จะปฏิบัติตนเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับบุตรโดยประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดี มีหลักการในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงและการอบรมแก้ไขบุตรให้ดีต่อไปในอนาคต
การวางแผนครอบครัวจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำพาครอบครัวไปสู่ความสุข สร้างคนให้มีคุณภาพเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สามีภรรยาได้พัฒนาตนเองอย่างเท่าเทียมกัน โดยการจัดสรรเวลาที่เหมาะสม ในการทำงานและครอบครัว

ความสำคัญในการวางแผนครอบครัว
1.ช่วยให้คู่สมรสที่เพิ่งแต่งงานกันได้มีโอกาสในการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันก่อนมีลูก เป็นการลดปัญหาเรื่องการหย่าร้าง
2. ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี ลูกมีโอกาสได้รับศึกษาสูง
3. คู่สมรสสามารถเว้นช่วงการมีลูก หรือจำกัดขนาดของครอบครัวได้
4. คู่สมรสสามารถสร้างฐานะการเงินให้มั่นคงได้
5. สุขภาพของครอบครัวไม่ทรุดโทรม ทุกคนสามารถดูแลกันได้อย่างทั่วถึง
กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในการวางแผนครอบครัว
1. ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา
2. ให้การรักษาการเป็นหมัน
3. ให้คำแนะนำก่อนการสมรส
4. ให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และให้บริการการคลอดบุตร
5. ให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว


        อ้างอิง :   สุวชัย อินทรประเสริฐ. (2535). การวางแผนครอบครัวประชากรและเทคโนโลยีการคุมกำเนิด. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น