หน้าเว็บ

ชนิดของการุคมกำเนิด 1


การคุมกำเนิดแบบชั่วคราว(Temporary contraception) 

1.    การคุมกำเนิดโดยไม่ใช้อุปกรณ์ (Non-appliance methodsประกอบด้วย

1.1                การหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด (Coital interruption) หรือเรียกกันทั่วไปว่า “หลั่งภายนอก” (withdrawal) หมายถึง “การคุมกำเนิดโดยฝ่ายชายถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดก่อนที่จะมีการหลั่งน้ำอสุจิ และให้หลั่งน้ำอสุจิห่างจากบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของฝ่ายหญิงเพื่อมิให้ตัวอสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้” (ชวนชม สกนธวัฒน์, 2540) เป็นการร่วมเพศกันตามปกติ จนกระทั่งฝ่ายชายมีความรู้สึกใกล้จะหลั่งน้ำอสุจิ จึงรีบถอยอวัยวะเพศออกจากช่องคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเปื้อนบริเวณอวัยวะเพศของผู้หญิง 
1.2                การกลั้นไม่หลั่งน้ำอสุจิ (Coital reservation) หมายถึงการที่ฝ่ายชายควบคุมตนเองมิให้หลั่งน้ำอสุจิ เมื่อใกล้จะถึงจุดสุดยอดจะต้องค่อย ๆ บังคับตนเอง ให้ความตื่นเต้นทางเพศค่อย ๆ ผ่อนคลายลงจนหมดไป ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ยากและมีโอกาสพลาดสูง
1.3                การให้นมลูกในระยะนาน ๆ (Prolonged lactation) การให้นมบุตรเป็นเวลานานจะทำให้ช่วงเวลาขาดประจำเดือนหลังคลอดบุตร (postpartum amenorrhea) ยาวนานกว่ามารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองในระยะสั้น หรือมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเลย โดยปกติแล้วการขาดประจำเดือนหลังคลอดมักเกิดร่วมกับการไม่มีไข่ตก (anovulation) เมื่อมีการกระตุ้นโดยการดูดนม ระดับของโปรแลคตินก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงอยู่ตลอดเวลาที่ถูกกระตุ้นโดยการดูดโดยระดับของโปรแลคตินที่สูงจะไปยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างไข่ Folicular Stimulating Hormone (FSH) และฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ Lutinizing Hormone (LH) เมื่อระดับของ FSH และ LH ลดลงจะมีผลทำให้ไม่มีไข่ตกและไม่มีประจำเดือน (กอบจิตต์ ลิมปพยอม, 2528) อย่างไรก็ตามขณะที่ให้นมบุตรนั้นถึงแม้จะไม่มีประจำเดือน แต่ก็อาจมีไข่ตกได้ ฉะนั้น การร่วมเพศในระยะนี้อาจทำให้ตั้งครรภ์ได้
1.4                การงดร่วมเพศบางช่วงเวลา เป็นการงดร่วมเพศในช่วงเวลาที่จะตั้งครรภ์ได้ (fertile period) หรือวันที่มีการตกไข่ของแต่ละรอบประจำเดือน หลักสำคัญของวิธีการคุมกำเนิดแบบนี้คือการหาวันที่มีการตกไข่ที่แน่นอน ซึ่งหาได้ด้วยกันหลายวิธี คือ การคำนวณระยะปลอดภัยจากบันทึกประวัติประจำเดือน หรือวิธีนับวัน (Calendar method, Calendar rhythm, Ogino-Knaus method) วิธีวัดอุณหภูมิของร่างกายหลังตื่นนอน (Basal body temparature) เรียกว่า Temperature method หรือ Thermal method วิธีสังเกตมูกปากมดลูก (Cervical mucous method, Ovulatory method, Billings method) วิธีการสังเกตอาการและวัดอุณหภูมิ (Sympto-thermal method หรือ STM) วิธีคาดคะเนวันไข่ตก (Predictable ovulation method)

2.  การคุมกำเนิดโดยการใช้สิ่งกีดขวาง (Barrier contraceptive methods)
การคุมคุมกำเนิดโดยอาศัยสิ่งกีดขวางหมายถึง การคุมกำเนิดที่ป้องกันการตั้งครรภ์โดยอาศัยอุปกรณ์เครื่องกีดขวางป้องกันไม่ให้อสุจิผ่านเข้าไปในมดลูก ซึ่งอาจใช้ยาฆ่าอสุจิร่วมด้วยก็ได้อาจแบ่งเป็นหลายชนิด เช่น ถุงยางอนามัย ไดอะเฟรม หมวกครอบปากมดลูก ฟองน้ำ ยาฆ่าอสุจิ โดยรวมแล้วประสิทธิภาพการคุมกำเนิดด้วยสิ่งกีดขวางด้อยกว่าการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน หรือห่วงอนามัย
2.1 ถุงยางอนามัย (condom) 
ถุงยางอนามัย หรือถุงยางคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบสิ่งกีดขวางที่ได้รับความนิยมสูงสุด หลักในการป้องกันการตั้งครรภ์ก็คือ ใช้ถุงยางอนามัยคลุมอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของเพศชายในระหว่างการร่วมเพศ ป้องกันไม่ให้อสุจิสัมผัสกับช่องคลอดเลย การใช้ยาร่วมกับยาฆ่าเชื้ออสุจิจะเหมาะมากสำหรับช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ชนิดของถุงยางอนามัย



ถุงยางอนามัยมี 2 ชนิด คือ ถุงยางอนามัยชาย และถุงยางอนามัยหญิง ส่วนใหญ่ทำมาจากยางลาเท็กซ์ หรือทำมาจากลำไส้แกะ (natural skin condom) ถุงยางลาเท็กซ์หนา 0.3-0.6 .สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ รวมทั้ง HIV ได้ นอกจากนี้อาจป้องกันหูดหงอนไก่ได้ด้วย
ถุงยางอนามัยชาย (Male Condom)
ถุงยางอนามัยชาย มักถูกเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ปลอก เสื้อฝน เสื้อเกราะ ถุงมีชัย sheath, prophylactic, protective, French letter, English cap เป็นต้น 
ชนิดของถุงยางอนามัยชาย ขนาดที่ใช้แพร่หลายในประเทศไทย มีรูปร่าง 2 แบบ
1. แบบปลายมีติ่งยื่นออกมาคล้ายหัวนม เพื่อเป็นที่เก็บน้ำอสุจิ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และถุงยางอนามัยชนิดนี้ยังแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แบบมีสารช่วยหล่อลื่น ช่วยให้การร่วมเพศได้สะดวก และชนิดที่ไม่มีสารหล่อลื่น ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว
ถุงยางอนามัยหญิง (Female condom)




ถุงยางอนามัยสตรี เป็นถุงยางอนามัยที่ประยุกต์ใช้กับสตรี มีลักษณะเป็นถุงยางปลายตันด้านหนึ่งและเปิดด้านหนึ่ง ใส่เข้าไปในช่องคลอดก่อนมีเพศสัมพันธ์ มีลักษณะคล้ายกับถุงยางอนามัยผู้ชายแต่กว้างกว่าและหนากว่า มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้ดี และมีข้อดีที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่างได้ด้วย(ชวนชม สกนธวัฒน์, 2540)

ถุงยางอนามัยหญิงทำด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ (Polyurethane) มีลักษณะเป็นถุงโปร่งแสง ทรงกระบอกปลายมน ขนาดที่เหมาะกับหญิงไทยควรจะมีความยาว 15 เซนติเมตร ปลายเปิดของถุงอนามัยมีห่วงติดเรียกว่า ขอบนอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร ส่วนก้นถุงมีห่วงเรียกว่า ขอบใน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 เซนติเมตร
 2.2 ยาฆ่าอสุจิ (Spermicide) เป็นวิธีคุม กำเนิดแบบชั่วคราววิธีหนึ่ง โดยการใส่ยา/สาร หรือสอดยา/สารนี้ เข้าไปในช่องคลอด ก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์เพื่อที่จะไปทำลาย/ฆ่าตัวเชื้ออสุจิ หลังมีเพศสัมพันธ์จากที่มีการหลั่งน้ำอสุจิเข้าไปในช่องคลอด เพื่อฆ่าอสุจิให้ตายอยู่ในช่องคลอด ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่มดลูกได้ จึงไม่มีการผสมกับไข่ (ไม่เกิดการตั้งครรภ์)


        
วิธีใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ
          การใช้ยาหรือสารฆ่าอสุจิจะต้องใส่เข้าไปในช่องคลอดการมีเพศสัมพันธ์เสมอ โดยทั่วไปแล้วจะต้องใส่ยาเข้าไปในช่องคลอดให้ลึกที่สุดจนถึงบริเวณปากมดลูกก่อนจะมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ยากระจายตัวได้ทั่วช่องคลอด ถ้าเป็นพวกฟองฟู่จะกระจายตัวได้เร็วกว่ายาแบบครีมและแบบเหน็บ โดยจะมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ประมาณ 30-60 นาที การใส่ยาครั้งหนึ่งจะสามารถช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้สำหรับการร่วมเพศเพียง ครั้งเท่านั้น เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์อ่อนและต้องใช้เวลาในการฆ่าอสุจิ ถ้าหากมีการร่วมเพศซ้ำจะต้องใส่ยาอีกครั้ง และหลังจากร่วมเพศเสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรรีบสวนล้างช่องคลอด เพราะน้ำจะไปละลายตัวยาออกมา ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง ถ้าต้องการสวนล้างช่องคลอดก็ให้ทำภายหลังการร่วมเพศประมาณ 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป นอกจากนี้หลังจากใส่ยาแล้วก็ไม่ควรจะลุก ยืน เดิน หรือไปนั่งถ่ายปัสสาวะ/อุจจาระ จนกว่าจะมีเพศสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาไหลออกมา ดังนั้น ก่อนจะใส่ยาเข้าไปในช่องคลอดทุกครั้ง ก็ควรจะทำอะไรให้เรียบร้อยเสียก่อน

         
          โดยรูปแบบของยาฆ่าอสุจิก็มีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ผู้ใช้ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เขียนแนะนำไว้ในฉลากอย่างเคร่งครัด เพราะยาแต่ละรูปแบบจะมีวิธีการใช้ ขนาดของยาที่ใช้ และระยะเวลาที่ต้องใส่แตกต่างกันออกไป

ข้อดีของการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ คือ
·         ใช้ง่ายสามารถจัดการด้วยตนเองหรือคู่นอนได้ ไม่ต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์
·         สะดวก หาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาทั่วไป
·         ไม่มีผลด้านฮอร์โมนต่อสตรี (อ่านเพิ่มเติมผลของฮอร์โมนคุมกำเนิดได้ในบทความเรื่อง ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด)
·         สามารถใช้ได้ในสตรีที่กำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ข้อด้อยของการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ คือ ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่ดี นอกจากนั้น คือ
·         ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
·         ต้องเสียเวลาในการใส่ยาเข้าไปในช่องคลอด และต้องรอเวลาให้ยาออกฤทธิ์ อาจขัดจัง หวะการมีเพศสัมพันธ์ได้
·         ต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
·         ยาที่ใส่อาจทำให้รู้สึกเหนียว เหนอะหนะ ทำให้เกิดความรำคาญได้
·         ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เกี่ยวการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ เช่น หลอดฉีดของเหลวเข้าไปในช่องคลอด หลอดฉีดโฟม เป็นต้น
อาการข้างเคียงหรือผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อนของการคุมกำเนิดวิธีนี้ คือ
·         อาจทำให้เกิดการแพ้ยา/สาร จึงก่อระคายเคือง บวมแดง ต่อช่องคลอดสตรี หรือ ต่ออวัยวะเพศของฝ่ายชายได้
·         ทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวี (HIVได้ง่ายขึ้นหากมีแผลถลอกที่เกิดจากการระคายเคือง
·         ทำให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะง่ายขึ้น
·         ทำให้เกิดการติดเชื้อยีสต์ (เชื้อรา)ในช่องคลอดง่ายขึ้น (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง เชื้อราในช่องคลอด)
·         มีโอกาสเกิดช่องคลอดอักเสบจากติดเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่น ที่เรียกว่า โรค Bacterial Vaginosis มากขึ้น
ผู้ที่เหมาะจะคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ คือ
·         ฝ่ายหญิงต้องการคุมกำเนิด แต่ฝ่ายชายไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัยชาย
·         มีเพศสัมพันธ์นานๆครั้ง
·         พร้อมที่จะยอมรับการตั้งครรภ์หากการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ล้มเหลว
·         อยู่ในสถานที่ที่ไม่สามารถไปรับบริการการวางแผนครอบครัวจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ เช่น การยาฉีดคุมกำเนิดการยาฝังคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ผู้ที่ไม่ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ คือ
·         ผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เอชไอวี (HIV)/โรคเอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
·         ผู้ที่ติดเชื้อ เอชไอวี หรือ มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่แล้ว เนื่องจากสาร/ยาฆ่าอสุจินี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองทั้งที่ผนังช่องคลอดและ/หรือที่อวัยวะเพศของฝ่ายชายได้ หรือทำให้เกิดแผลหรือรอยถลอกได้ ทำให้มีโอกาสแพร่เชื้อหรือติดเชื้อโรคต่างๆ โดย เฉพาะโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น
·         คู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์กันบ่อยๆ เพราะการที่ต้องใช้สารฆ่าอสุจิทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ อาจทำให้ไม่สะดวก ประกอบกับประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้ต่ำ จึงมีโอกาสตั้ง ครรภ์ได้สูง

3.   ห่วงอนามัย หรือ ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device)




          ห่วงอนามัย หรือ ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine device) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไอยูดี (IUD) เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ชิ้นเล็ก ๆ ที่มีไว้สำหรับใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของสตรี เพื่อทำให้สภาพในโพรงมดลูกไม่เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อน จึงใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ชั่วคราวได้ดี โดยห่วงอนามัยนี้มีการใช้กันตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรกรีกโรมัน ห่วงอนามัยชนิดแรกของโลกทำมาจากก้อนกรวดที่ชาวอาหรับและเติร์กใส่เข้าไปในมดลูกของอูฐ เพื่อป้องกันไม่ให้อูฐตั้งท้องขณะเดินทะเลทราย ส่วนห่วงอนามัยในยุคหลังนี้เริ่มมีใช้กันได้ประมาณ 100 ปีแล้วครับ ในระยะแรกห่วงอนามัยจะทำมาจากวัสดุหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เส้นไหม หรืออื่นๆ ต่อมาได้มีการผลิตเป็นพลาสติกชนิดพิเศษที่นำมาทำเป็นห่วงอนามัยได้ดีและคงสภาพเดิมได้หลังจากยืดออกเป็นเส้นตรงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงทำให้มีคนประดิษฐ์ห่วงอนามัยออกมาหลายชนิด และบางชนิดก็เลิกใช้กันไปแล้ว
การทำงานของห่วงอนามัย
          กลไกการทำงานของห่วงอนามัยคาดว่าเกิดจากการอักเสบเมื่อมีวัสดุแปลกปลอม กล่าวคือ การทำงานของห่วงอนามัยนั้นไม่ใช่การป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อนเท่านั้น หากแต่เกิดจากการที่มีวัสดุแปลกปลอม (ห่วงอนามัย) เข้าอยู่ในโพรงมดลูก และทำให้เกิดการกระตุ้นกระบวนการอักเสบภายในร่างกาย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นพิษต่อตัวอสุจิและขัดขวางการฝัง
ตัวของตัวอ่อน นอกจากนี้ในห่วงอนามัยชนิดฮอร์โมนนั้น จะเป็นการเพิ่มกลไกการหนาตัวของมูกบริเวณปากมดลูกเพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวของอสุจิ อสุจิไม่สามารถผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้ ทำให้ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกบางลงจนไม่เหมาะสำหรับการฝังตัวอ่อน เพิ่มการแสดง glycoderlin A ที่ต่อมบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งช่วยยับยั้งการจับตัวของอสุจิที่ผนังของไข่อีกด้วย และฮอร์โมนโปรเจสตินยังส่งผลต่อการยับยั้งการตกไข่ได้ประมาณ 25% ส่วนห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดงยังมีการปล่อยอนุมูลทองแดงอิสระและเกลือของทองแดง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบต่อเซลล์ในโพรงมดลูก โดยกระตุ้นการสร้าง prostaglandin ซึ่งเป็นพิษต่อตัวอสุจิและไข่ นอกจากนั้นยังขัดขวางการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิอีกด้วย

ผู้ที่ควรใช้ห่วงอนามัย

•        มีความต้องการที่จะใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิสูง และมีความจำเป็นต้องการคุมกำเนิดในระยะ          ยาวอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป หรือต้องการเว้นช่วงการมีบุตรมากกว่า 3-5 ปี
•        ผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ
•        เป็นผู้มีความเสี่ยงต่ำในการติดต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
•        มีความต้องการที่จะกลับมาตั้งครรภ์อีกครั้งเมื่อหยุดใช้ห่วงอนามัย
•        ผู้ที่มีข้อห้ามหรือจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการคุมกำเนิดด้วยที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
•        ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก (อ้วน) เพราะยาฮอร์โมนอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ และยัง    ทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้วยยาฮอร์โมนลดลงอีกด้วย
•        ผู้ที่ให้นมบุตร
•        ผู้ที่มีความจำเป็นอื่น ๆ ที่ต้องใช้ห่วงอนามัยเพื่อการบำบัดรักษา โดยมิได้หวังผลเพื่อการคุมกำเนิด
•        มีความจำเป็นต้องเลือกใช้ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดงเพื่อการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

ผู้ที่ไม่ควรใช้ห่วงอนามัย

•        ผู้ที่ยังไม่แน่ใจว่าในขณะนั้นตนตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ เพราะการใส่ห่วงอนามัยแล้วตั้งครรภ์จะมีโอกาส     แท้งบุตรสูงมาก
•        ผู้ที่มีภูมคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เพราะอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกได้สูง
•        เป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคของลิ้นหัวใจ
•        มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกหรือทางช่องคลอดกะปริดกะปรอยโดยไม่ทราบสาเหตุ เพราะการ   ห่วงอนามัยอาจทำให้มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอดได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาดังกล่าว ควร        ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ให้แน่ชัดก่อน
•        เคยมีประวัติการอักเสบในอุ้งเชิงกรานบ่อย ๆ หรือมีการติดเชื้อในอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น ภาวะอุ้ง  เชิงกรานอักเสบเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบปากมดลูกอักเสบเป็นหนองวัณโรคในอุ้งเชิงกราน หาก      คุณมีการติดเชื้อดังกล่าวควรรักษาให้หายสนิทก่อนอย่างน้อย 3 เดือน แล้วจึงค่อยพิจารณาการใส่ห่วง      อนามัย (แนะนำว่าให้ใช้ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนมากกว่าชนิดทองแดง)
•        ผู้ที่โพรงมดลูกผิดรูปร่างมาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งมักจะเกิดจากความผิดปกติด้านโครงสร้างของโพรงมดลูก เช่น ปากมดลูกตีบ, Bicornuate uterus, กล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อมดลูกที่ทำให้โพรงมดลูกผิดรูปร่าง    เพราะปัจจัยเหล่านี้จะเพิ่มความยากหรือเป็นอุปสรรคในการใส่ห่วงอนามัย เพิ่มโอกาสที่ห่วงอนามัย          จะหลุด หรือทำให้ไม่สามารถใส่ห่วงให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ (ขนาดความลึกของโพรงมดลูกที่   เหมาะสม คือ 6-9 เซนติเมตร)
•        ผู้ที่มีเนื้องอกมดลูก เพราะเนื้องอกอาจส่งผลให้รูปร่างของมดลูกผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไป
•        ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ยังได้รับการบำบัดรักษาอยู่ ไม่ควรใส่ห่วงชนิดเคลือบฮอร์โมน แม้ว่าใน                 ปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยที่ใช่ห่วงอนามัยชนิดเคลือบฮอร์โมนก็ตาม         อย่างไรก็ตามระดับสาร Levonorgestrel (ฮอร์โมน) ในกระแสเลือดของผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดนี้ก็ยัง   ต่ำกว่าการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนรูปแบบอื่น ๆ มาก จึงอาจนำมาใช้ในกรณีจำเป็นได้ (ถ้ามีประวัติ     ประจำเดือนมามาก หรือปวดท้องประจำเดือนมาก่อน ไม่ควรเลือกใช้ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง)
•        ผู้ที่มีภาวะแพ้สารทองแดง (Wilson’s disease) ในกรณีที่เลือกใช้ห่วงอนามัยที่หุ้มด้วยทองแดง

ผลข้างเคียงการใส่ห่วงอนามัย
          ผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อนหลังการใส่ห่วงอนามัย โอกาสที่เกิดขึ้นได้น้อยมากครับ มีบางคนเท่านั้นที่อาจจะมีอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย เช่น
1.        มีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย
2.        อาจมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น ประจำเดือนมามากกว่าปกติเล็กน้อย
3.        มีตกขาวบ้างหรือมีตกขาวมากกว่าปกติ เนื่องจากมีสายห่วงที่อยู่ในช่องคลอด
4.       ปวดถ่วงบริเวณท้องน้อยหรือมีอาการปวดหลัง (แก้ไขด้วยการกินยาแก้ปวด)
5.       เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานในสตรีที่มีคู่นอนหลายคนหรือในสตรีที่มีภูมิ   คุ้มต้านทานโรคบกพร่อง
6.        ผลข้างเคียงจากห่วงอนามัยชนิดฮอร์โมน (Levonorgestrel) ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ อารมณ์    แปรปรวน เป็นสิว น้ำหนักตัวขึ้น มีภาวะขนดก เจ็บคัดตึงเต้านม (LNg14 จะมีอาการข้างเคียงเหล่านี้      น้อยกว่า LNg20)
4. ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptive pill หรือ Birth control pill หรือ Pill)
          ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptive pill หรือ Birth control pill หรือ Pill)เป็นยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง(เอสโตรเจน/Estrogenและโปรเจสติน/Progestin) มีผลป้องกัน การตั้งครรภ์โดยยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก(เยื่อบุมดลูกบางตัวมีสภาพไม่พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิจึงทำให้ไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ในท่อนำไข่ได้
          ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดทั่วโลก เนื่องจากหาได้ง่าย ใช้ได้สะดวก มีหลายราคา หลายชนิดให้เลือกใช้ มีอัตราการล้มเหลวจากการใช้ยา (การตั้งครรภ์ ขณะใช้ยา) น้อย




ยาเม็ดคุมกำเนิดแบ่งออกเป็น ชนิด ได้แก่
1.       ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined pill) ประกอบด้วยตัวยาทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน
2.       ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีโปรเจสตินอย่างเดียว (Minipill)
3.       ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Postcoital pill)
แผงยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมมี แบบ คือ
·         ชนิด 21 เม็ด ประกอบด้วยฮอร์โมนทั้ง 21 เม็ด
·         และชนิด 28 เม็ด
การเริ่มรับประทานยาครั้งแรกควรเริ่มในวันที่ 1 - 5 ของการมีประจำเดือน มีผลในการคุมกำ เนิดได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย และยังลดการเกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยระ หว่างรอบเดือน
การเริ่มรับประทานยาหลัง วันแรกของประจำเดือนสามารถทำได้ แต่ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยเช่น ถุงยางอนามัยอย่างน้อย วันหลังกินยาเม็ดแรก โดยรับประทานยาคุมกำเนิดวันละ 1 เม็ดในเวลาเดิมทุกๆวัน แนะนำให้รับประทานก่อนนอนเพื่อป้องกันการลืม จากนั้นรับประทานเม็ดยาไล่ตามลูกศรจนหมดแผง ในกรณีที่เป็นแผงชนิด 28เม็ดเมื่อหมดแผงสามารถเริ่มแผงใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมด ส่วนกรณีแผงชนิด 21 เม็ดให้เว้นระยะ วันจึงเริ่มแผงใหม่ โดยชนิด 28 เม็ดจะประกอบด้วยเม็ดยาฮอร์โมน 21 เม็ดและเม็ดแป้งหรือวิตามินอีก 7 เม็ด
          ถ้าลืมรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เม็ด ให้รับประทานทันทีที่นึกได้และรับ ประทานยาเม็ดต่อไปตามปกติ
          ถ้าลืมรับประทานยา เม็ด ให้รับประทาน เม็ดทันทีที่นึกได้และรับประทานก่อนนอนตาม ปกติ วันต่อมาให้รับประทานยา เม็ดหลังอาหารเช้า จากนั้นรับประทานตามปกติ
          ถ้าลืมรับประทานยา เม็ด ให้ทิ้งยาแผงเดิมแล้วเริ่มรับประทานแผงใหม่ทันที ร่วมกับใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยอีก วัน (ในกรณีที่รับประทานยาคุมชนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ขนาด 20 ไมโครกรัมหรือน้อยกว่า ถ้าลืมในสัปดาห์แรกให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินร่วมด้วย)
          ถ้าลืมรับประทานยา เม็ด ให้ทิ้งยาแผงเดิมแล้วเริ่มรับประทานแผงใหม่ทันที ร่วมกับใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยอีก วัน (ในกรณีที่รับประทานยาคุมชนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ขนาด 20 ไมโครกรัมหรือน้อยกว่า ถ้าลืมในสัปดาห์แรกให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินร่วมด้วย)
          กรณีที่ลืมรับประทานยาเม็ดที่เป็นเม็ดแป้งหรือวิตามินในแผงยาคุม 28 เม็ด ให้ข้ามยาเม็ดนั้นแล้วเริ่ม

รับประทานยาเม็ดต่อไปตามปกติ
ข้อควรระวังในการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม คือ
·         หากมีอาการของโรคทางเดินอาหารเช่น ท้องเสีย อาเจียนมาก ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยอีก วันหลังกินยาเม็ดแรกเช่น การใช่ถุงยางอนามัยชาย เนื่องจากมีผลทำให้การดูดซึม ยาไม่ดี
·         หากลืมรับประทานยาร่วมกับมีการขาดระดู/ประจำเดือน 1 ครั้ง ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อน เริ่มรับประทานยาแผงใหม่ หากแน่ใจว่าไม่ลืมรับประทานยาให้เริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้ตาม ปกติ
·         ยาบางชนิดมีผลต่อประสิทธิภาพของยาเม็ดคุมกำเนิดเช่น ยากันชักบางชนิด ยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะบางชนิด ดังนั้นหากมีโรคประจำตัวหรือต้องรับประทานยาบางชนิดเป็นประจำควร ปรึกษาแพทย์ในการเลือกวิธีคุมกำเนิด
อาการข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่อาจพบได้ คือ
·         คลื่นไส้ อาเจียน มักพบในช่วงที่เริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดใหม่ๆ (โดยเฉพาะ แผงแรก) เมื่อรับประทานยาคุมกำเนิดไประยะเวลาหนึ่งอาการมักลดลง หากมีอาการมากอาจเปลี่ยนชนิดของฮอร์โมนหรือลดขนาดของฮอร์โมนและการรับประทานยาก่อนนอนสามารถช่วยลดอา การคลื่นไส้อาเจียนได้
·         ปวดศีรษะ วิงเวียน หากมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะ สมต่อไป
·         ฝ้า (Melasma) สามารถพบได้ในขณะที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เมื่อหยุดใช้ยาฝ้าอาจจางลง
·         รู้สึกบวม น้ำหนักเพิ่ม เป็นผลจากการที่มีน้ำและเกลือแร่คั่งในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง อาจร่วมกับความรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น หากน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า กก. ควรหยุดยาเม็ดคุมกำเนิดและปรึกษาแพทย์
·         เลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด มักเกิดใน 1 - 3 สัปดาห์แรกของการเริ่มรับ ประทานยา อาจเป็นผลจากการรับประทานยาที่มีปริมาณฮอร์โมนต่ำเกินไป หรือรับประทานไม่ตรงเวลา หรือลืมรับประทานยา หากมีเลือดออกมากหรือนานควรหยุดใช้ยาและรีบปรึกษาแพทย์
·         อารมณ์เปลี่ยนแปลง อาจมีผลทำให้อารมณ์ดีขึ้นหรือซึมเศร้า หากอาการซึมเศร้าเป็นมากควรรีบปรึกษาแพทย์
·         การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกทางเพศ บางรายอาจรู้สึกดีขึ้นเนื่องจากหมดความกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ บางรายอาจมีความรู้สึกทางเพศลดลงเป็นผลจากระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง หากอาการเป็นมากควรรีบปรึกษาแพทย์ ข้อห้ามใช้โดยเด็ดขาดของการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพราะยาจะเพิ่มโอกาสเกิดอาการต่างๆและ/หรือเพิ่มความรุนแรงของอาการคือ
·         ประวัติโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดเช่น โรคลิ่มเลือดอุดตัน (ภาวะลิ่มเลือดในหลอด เลือดดำ)
·         ประวัติโรคหลอดเลือดผิดปกติเช่น โรคหลอดเลือดดำอักเสบ
·         โรคปวดศีรษะไมเกรน (โรคไมเกรนชนิดรุนแรง
·         โรคหัวใจบางชนิดเช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ
·         โรคหัวใจบางชนิดเช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ
·         โรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์บางชนิด
·         เลือดออกผิดปกติจากมดลูกโดยไม่ทราบสาเหตุ
·         ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
ข้อห้ามทั่วไปในการใช้เม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา คือ
·         ปวดศีรษะไมเกรน (โรคไมเกรนชนิดมีอาการไม่มาก
·         โรคความดันโลหิตสูงทั่วไป
·         โรคเบาหวาน
·         โรคหัวใจอื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวแล้วในหัวข้อแรก
·         โรคไต
·         สูบบุหรี่
·         เคยมีประวัติถุงน้ำดีอักเสบ
·         มีเส้นเลือดขอด/หลอดเลือดขอดมาก
·         มีปัญหาทางจิต (โรคจิตเช่น โรคซึมเศร้า โรคประสาท
·         กำลังให้นมบุตร
ข้อดีของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม คือ
·         ทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ สามารถช่วยลดปริมาณประจำเดือนมากผิดปกติได้
·         ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
·         ช่วยลดอาการในกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน/พีเอ็มเอส (PMS, Premenstrual syn drome)
·         ช่วยลดสิว ขนดก หน้ามัน และอาการในกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ/กลุ่มอาการพีซีโอเอส (PCOS: Polycystic ovarian syndrome)
·         ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก (โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง)
·         ช่วยลดอุบัติการณ์ตั้งครรภ์นอกมดลูก
·         อาจช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งบางชนิดในบางคนได้เช่น โรคมะเร็งรังไข่ และโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่
·         ช่วยลดอุบัติการณ์การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
การดูแลตนเองเมื่อใช้ยาคุมกำเนิดที่สำคัญ คือ
·         ควรรับประทานยาในเวลาเดิมทุกวัน หากลืมรับประทานให้ทำตามคำแนะนำข้างต้น
·         จดบันทึกประจำเดือนทุกครั้ง หากประจำเดือนขาด ครั้งร่วมกับมีประวัติลืมรับประทานยาควรทดสอบการตั้งครรภ์หากประจำเดือนขาด ครั้งแม้จะไม่ลืมรับประทานยาก็ควรต้องทดสอบการตั้งครรภ์
·         ถ้ามีอาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น อาเจียนมาก ถ่ายเหลว/ท้องเสีย อาจต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยเป็นเวลา วันหลังกินยาเม็ดแรก
·         หากมีอาการผิดปกติเช่น มีฝ้าขึ้นที่ใบหน้า ปวดศีรษะ มีเลือดออกทางช่องคลอดมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนชนิดยาคุมกำเนิดหรือเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด
·         หากมีอาการผิดปกติรุนแรงเช่น ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว เจ็บแน่นหน้าอก ปวดบริเวณน่องมาก ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเป็นอาการของลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดต่างๆ
·         หากต้องได้รับการผ่าตัดทุกชนิด ควรแจ้งแพทย์ว่ากำลังรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด เนื่องจากยาเม็ดคุมกำเนิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด
·         เนื่องจากยาเม็ดคุมกำเนิดมีฮอร์โมนที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ดังนั้นระหว่างที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดจึงไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด
·         ไม่ควรซื้อยาอื่นๆรับประทานเองเช่น ยาฆ่าเชื้อยาปฏิชีวนะเนื่องจากมียาบางชนิดรบ กวนการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง
เมื่อกำลังกินยาเม็ดคุมกำเนิดพบมีอัตราการตั้งครรภ์ 8.7% ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยเช่น การลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดการรับประทานยาไม่ตรงเวลา การมีอาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น อาเจียน ท้องเสีย หรือการได้รับยาอื่นๆ ซึ่งรบกวนการออกฤทธิ์ของยาเม็ดคุมกำเนิด
ทั้งนี้สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ในขณะรับประทานยาคุมกำเนิดได้โดยรับประทานยาในเวลาเดิมทุกวัน หากลืมรับประทานยาควรรีบทำตามคำแนะนำข้างต้น หากมีอาการทางระบบทาง เดินอาหารเช่น อาเจียนหรือท้องเสียมาก ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยเช่น ถุงยางอนามัยชายอย่างน้อย วันหลังกินยาเม็ดแรก หากมีอาการไม่สบายซึ่งต้องรับประทานยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งโดยแจ้งว่าตนเองกำลังกินยาคุมกำเนิดอยู่
          โดยทั่วไปเมื่อแพทย์แนะนำใช้ยาคุมกำเนิด แพทย์มักนัดตรวจเป็นระยะๆ ความถี่ในการนัดตรวจขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของหญิงนั้น การเกิดผลข้างเคียงต่างๆจากการใช้ยา และดุลพินิจของแพทย์ แต่ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อ
·         หากมีอาการผิดปกติหลังรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเช่น ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียนมาก เลือดออกทางช่องคลอดปริมาณมาก
·         มีอาการแน่นหน้าอก ปวดบริเวณน่อง หรือขาบวม ข้าง
·         ตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ขณะใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
·         มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงระหว่างที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเช่น ซึมเศร้ามาก
·         มีข้อกังวลสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
          การเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดควรเป็นไปโดยความสมัครใจของผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด โดยประ เมินจากความสะดวกในการเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิด ระยะเวลาที่ต้องการคุมกำเนิด ผลข้างเคียงต่างๆ ข้อห้ามในการใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีต่างๆ โดยยาเม็ดคุมกำเนิดเหมาะในผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดชั่วคราว ระยะเวลาไม่กี่ปี (น้อยกว่า ปี) มีการวางแผนต้องการบุตรเพิ่มอีกในอนาคต (การวาง แผนครอบครัว) ไม่มีข้อห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด และสามารถรับประทานยาได้ตามเวลาทุกวัน
          ในปัจจุบันยาเม็ดคุมกำเนิดมีหลายชนิด โดยชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดและมีประสิทธิ ภาพในการคุมกำเนิดดีคือยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ส่วนยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว ควรใช้ในสตรีที่ให้นมบุตรและสตรีที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ควรใช้เฉพาะเวลาฉุกเฉิน เนื่องจากมีผลข้างเคียงมากและ อัตราการล้มเหลว (การตั้งครรภ์สูง
          ยี่ห้อยาเม็ดคุมกำเนิดในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อมีความแตกต่างในเรื่องของชนิดฮอร์โมน ปริมาณฮอร์โมน ผลข้างเคียงที่ดีเช่น การลดการเกิดสิว ผิวมัน ขนดก ลดอาการในกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ซึ่งผู้ที่ต้องการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถเลือกซื้อได้ตามความต้องการ ตามกำลังการซื้อ และตาผลข้างเคียงที่ต้องการ โดยอาจปรึกษาแพทย์หรือ เภสัชกรก่อนการเลือกยี่ห้อยาเม็ดคุมกำเนิด
          การเริ่มใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดควรทดลองใช้ แผงก่อน โดยทดลองรับประทานและสังเกตอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่น เป็นฝ้า ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หากมีอาการข้างเคียงควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนยี่ห้อยาเม็ดคุมกำเนิดที่เป็นฮอร์โมนต่างชนิดหรือเพื่อลดปริมาณฮอร์ โมนในตัวยา
แพทย์มีวิธีเลือกยาเม็ดคุมกำเนิดโดยพิจารณาจากความต้องการของผู้มารับบริการคุมกำ เนิด พิจารณาว่าไม่มีข้อห้ามในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด อาการต่างๆที่เกิดร่วมของผู้มารับบริการ เช่น มีอาการในกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน มีสิวมาก ผิวมัน ขนดก จากนั้นสังเกตดูรูปร่างของผู้มารับบริการ
รูปร่างอาจสัมพันธ์กับผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากยาคุมกำเนิด และประวัติของการมีประจำเดือน
1.       สตรีที่มีประจำเดือนปริมาณมากและนาน รอบประจำเดือนสั้น ไม่มีสิวหรือขนตามตัว มักเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินสูง
2.       สตรีที่มีปริมาณประจำเดือนมาน้อย รอบประจำเดือนยาว ลักษณะคล้ายเพศชาย มีสิวขนดก ผิวมัน มักเลือกใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง
3.       สตรีที่มีระดู/ประจำเดือนสม่ำเสมอ ปริมาณปานกลาง น้ำหนักตัวปกติ มักใช้ยาเม็ดคุม กำเนิดชนิดที่มีความสมดุลกันทั้ง ฮอร์โมน
          ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียวเป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่ไม่มีฮอร์ โมนเอสโตรเจนมีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสติน วัตถุประสงค์เพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกข้นเหนียว รวมทั้งทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน
        ข้อดีของยา คือ สามารถใช้ในสตรีให้นมบุตรได้ โดยไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนม และสามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
        ข้อเสียของยา คือ มีอัตราการล้มเหลว/การตั้งครรภ์ขณะใช้ยาสูงกว่าชนิดฮอร์โมนรวม ต้องรับประทานให้ตรงเวลา การเริ่มรับประทานยาให้เริ่มรับประทานในวันแรกของการมีประจำเดือน โดยรับประทานยาวันละ เม็ดในเวลาเดิมทุกวัน ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยใน วันแรกหลังกินยาเม็ดแรก เมื่อยคุมกำเนิดหมดแผงให้เริ่มรับประทานยาแผงใหม่ต่อในวันถัดไปโดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนมา
ถ้าลืมรับประทานยา เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ และรับประทานยาเม็ดต่อไปตาม ปกติร่วมกับใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยเป็นเวลา 48 ชม.หลังกินยาเม็ดแรก
          ถ้าลืมรับประทานยา เม็ดติดต่อกัน ให้รับประทานยาวันละ เม็ดเป็นเวลา วัน โดยใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยอย่างน้อย วันหลังกินยาเม็ดแรก
          ถ้าลืมรับประทานยามากกว่า วันติดต่อกัน ให้หยุดยาเม็ดคุมกำเนิดจากนั้นให้ใช้วิธีคุมกำ เนิดอื่น
ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินในขนาดสูง มีผลป้องกันหรือเลื่อนเวลาการตกไข่ ป้องกันการปฏิสนธิของไข่และอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะในการฝังตัวของตัวอ่อน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกรณีที่ถูกข่มขืน หรือลืมคุมกำเนิด หรือคุมกำเนิดล้มเหลว เช่น การฉีกขาดของถุงยางอนามัยชาย แต่เนื่องด้วยมีปริมาณของฮอร์โมนสูง ทำให้ไม่เหมาะสมในการใช้เป็นยาคุมกำเนิดทั่วไปเพราะมีผลข้างเคียงสูง (เช่น การมีเลือดออกทางช่องคลอดผิด ปกติ) มีอัตราการล้มเหลว/การตั้งครรภ์สูงกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยมีชื่อทางการค้าว่า Postinor และ Madonna
          การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานยาทั้งหมดรวม เม็ด โดย เม็ดแรกรับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์แต่ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 72 - 120 ชม.หลังมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นรับประทานยาอีก เม็ดอีก 12 ชม.ถัดมา
          อาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง) ที่พบบ่อยคือ การมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะ ปรอย
หากประจำเดือนขาดหลังใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ควรทดสอบการตั้งครรภ์เนื่องจากมีอัตราการล้มเหลว/การตั้งครรภ์สูงกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป
         
5. ฮอร์โมนคุมกําเนิดที่ออกฤทธิ์ระยะยาว

          1.1ยาฉีดคุมกำเนิด (Injectable contraceptive) คือ วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวแบบหนึ่ง โดยจะเป็นการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อของสตรีในระยะเวลาตามที่แพทย์กำหนด หลังจากฉีดตัวยาจะค่อย ๆ ขับฮอร์โมนออกมา เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในรายที่ต้องการเว้นระยะการมีบุตร เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง ทำได้ง่าย สะดวก และมีราคาถูก
การฉีดยาคุมกําเนิด เริ่มมีครั้งแรกทางภาคเหนือในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 ต่อมาได้มีการศึกษาและทดลองใช้ จึงได้พบว่ามีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยาฉีดที่ใช้อดีตและยังใช้กันมากในปัจจุบันคือ Depot medroxyprogesterone acetate (DMPA) โดยใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก ๆ 3 เดือน นอกจากจะช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยานี้ยังมีฤทธิ์ทำให้รอบเดือนเปลี่ยนแปลง มาไม่ตรงเวลา อาจมีประจำเดือนน้อย กะปริดกะปรอย หรือประจำเดือนไม่มา เป็นต้น
ชนิดของยาฉีดคุมกำนิด
•        ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งเป็นยาฉีดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เพียงอย่างเดียว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
ยา Depot Medroxyprogesterone acetate (DMPA) ขนาด 150 มิลลิกรัม เป็นตัวยาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีชื่อทางการค้าว่า Depo-Provera® (ยี่ห้ออื่นก็มีครับ) ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก ๆ เดือน (12 สัปดาห์ หรือ 84 วัน) เลยได้ไม่เกิน วัน หลังจากฉีด DMPA จะสามารถตรวจพบได้ในกระแสเลือดภายใน 30 วินาที ระดับฮอร์โมนไม่สะสมในร่างกาย เมื่อเข้าไปในกระแสเลือดจะออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายโดยตรง และจะออกฤทธิ์คุมกำเนิดภายใน 24 ชั่วโมง


          ยา Norethisterone Enanthate (NET-EN) ขนาด 200 มิลลิกรัม มีชื่อทางการค้าว่า Noristerat® ใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก ๆ เดือน (สัปดาห์) หลังฉีดตัวยาจะเข้าไปอยู่ในไขมันทั่วร่างกาย แล้วกระจายเข้าสู่กระแสเลือด ระดับของฮอร์โมนจะลดลงเร็ว ฮอร์โมนนี้เมื่อเข้าในกระแสเลือดจะต้องถูกเปลี่ยนที่ตับให้เป็น Norethisterone ก่อนจึงจะออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายได้ โดยการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนตัวยาจะถูกดูดซึมได้เร็วกว่าและระดับฮอร์โมนจะสูงกว่าการฉีดเข้ากล้ามบริเวณสะโพก

•        ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เป็นยาฉีดคุมกำเนิดแบบใหม่ที่ผลิตมาเพื่อลดอาการผิดปกติของประจำเดือน ในยาฉีดจะมีทั้งฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ชนิดนี้มีชื่อทางการค้าว่า Cyclofem® และLunelle™ ยาฉีดจะประกอบไปด้วยตัวยา Medroxyprogesterone acetate 25 มิลลิกรัม และ Estradiol cypionate 5 มิลลิกรัม และอีกยี่ห้อคือ Mesigyna® จะประกอบไปด้วยยา Norethisterone Enanthate (NET-EN) ขนาด 50 มิลลิกรัม และ Estradial valerate 5 มิลลิกรัม แต่โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะใช้ Cyclofem® มากกว่าครับยี่ห้ออื่นครับ
          โดยยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมนี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อด้อยของยาฉีดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวและเพื่อเป็นการเลียนแบบฮอร์โมนของร่างกาย ทำให้มีประจำเดือนมาทุกเดือน ช่วยให้เกิดการสร้างเยื่อบุมดลูกขึ้น ช่วยลดภาวะเลือดประจำเดือนออกผิดปกติ และทำให้สามารถตั้งครรภ์ได้เร็วขึ้นหลังจากหยุดใช้ยา แต่ต้องฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นประจำทุก ๆ 1 เดือน (4 สัปดาห์) ซึ่งจากการศึกษาผลพบว่าผู้ที่ฉีดยาคุมกำเนิดชนิดนี้จะมีอัตราการเลิกใช้ยาในช่วงแรกน้อยกว่าชนิดแรก เนื่องจากปัญหาประจำเดือนขาด ไม่มีประจำเดือน เลือดออกกะปริดกะปรอยเกิดได้น้อยกว่า แต่ทั้งนี้ผู้ที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมจะใช้ยาต่อเนื่องได้มานานเท้าชนิดฮอร์โมนเดียว ด้วยสาเหตุอาการข้างเคียงอย่างอื่น เช่น มีน้ำหนักตัวเพิ่ม ปวดศีรษะ ฯลฯ
 การออกฤทธิ์ของยาฉีดคุมกำเนิด
ฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) จะเป็นตัวยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไม่มีไข่มารอปฏิสนธิ นอกจากนั้นยังทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางตัวไม่เหมาะสมแก่การฝังตัวของไข่ และทำให้มูกที่ปากมดลูกมีความเหนียวข้น ส่งผลให้ตัวอสุจิไม่สามารถว่ายผ่านเข้าไปผสมกับได้ (ผ่านเข้าไปได้ยาก) จึงสามารถช่วยคุมกำเนิดได้
ผู้ที่เหมาะจะฉีดยาคุมกำเนิด
•        สตรีที่ต้องการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย
•        สตรีที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อย ๆ ต้องการความสะดวก ไม่ต้องการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบเดิมทุก ๆ วัน
•        สตรีหลังคลอดที่กำลังให้นมบุตร (ต้องเป็นยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว)
•        สตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนเป็นประจำ
•        สตรีที่สูบบุหรี่
ผู้ที่ไม่เหมาะจะฉีดยาคุมกำเนิด
•        ปกติแล้วจะไม่แนะนำให้ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดเป็นทางเลือกแรกของสตรีที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือสตรีที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป เพราะยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (โปรเจสติน) จะมีผลต่อความหนาแน่นของกระดูก
•        สงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือกำลังตั้งครรภ์            
•        มีความดันโลหิตสูงเกิน 160/100 มม.ปรอท
•        เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้
•        เป็นโรคมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์หรือเกี่ยวกับเจริญพันธุ์ เช่น มะเร็งเต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมเกินกว่า 5 ปี
•        เป็นโรคของหลอดเลือด โรคเส้นเลือดอุดตัน โรคหัวใจขาดเลือด
•        เป็นโรคไมเกรนที่มี Aura (อาการที่เกี่ยวกับความรู้สึก เช่น เห็นแสงวาบ เห็นจุดดำ ๆ หรือรู้สึกซ่าบริเวณใบหน้าและมือ)
•        มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
•        เป็นโรคไต โรคตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ
•        เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดยาก
•        มีภาวะกระดูกพรุน ไม่ควรใช้ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (โปรเจสติน)
•        มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
•        สตรีที่อ้วนมากเกินไป
ประโยชน์ของการฉีดยาคุมกำเนิด
•        ลดอาการเครียดก่อนมีประจำเดือน
•        ลดอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจาง
•        ลดภาวะซีดและอาการปวดประจำเดือน เนื่องจากทำให้ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนมาน้อย
•        ลดโอกาสในการเกิดการตั้งครรภ์หรือท้องมดลูกได้ เพราะโอกาสในการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานมีน้อยลง
•        ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เนื่องจากยาฉีดคุมกำเนิดจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลงและไม่มีการแบ่งเซลล์
•        ลดโอกาสการติดเชื้อหรือเกิดการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เนื่องจากปากมดลูกเหนียวข้นจะข่วยป้องกันเชื้อต่าง ๆ ไม่ให้ผ่านเข้าไปในมดลูกได้
•        ช่วยป้องกันอุบัติการณ์เกิดเนื้องอกมดลูก
•        ลดอุบัติการณ์เกิดซีสต์ในรังไข่ (Ovarian Cysts)
•        ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่
•        ลดอุบัติการณ์เกิดเชื้อรา
•        DMPA สามารถช่วยป้องกัน Sickle cell crisis ได้
•        ช่วยลดจำนวนความถี่ของการชัก
•        ใช้รักษาภาวะผิดปกติและโรคทางนรีเวชได้ เช่น endometriosis, endometrial hyperplasia, precocious puberty และถ้าใช้หลังหมดระดูจะช่วยลดอาการ vasomotor symptoms (กลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ อาการที่พบได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน)
ผลข้างเคียงของยาฉีดคุมกำเนิด
•        อาการข้างเคียงของการฉีดยาคุมกำเนิดในชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Noristerat®, Depo-Provera®) มีดังนี้
1.        ประจำเดือนเปลี่ยนแปลง หลังจากฉีดยาคุมกำเนิดอาจมีเลือดออกคล้ายประจำเดือน ในบางรายอาจมีเลือดออกแบบกะปริดกะปรอย ออกบ้างหยุดบ้าง หรือออกทั้งเดือนก็มี ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่พบได้บ่อย แต่จะเกิดขึ้นเมื่อฉีดยาเข็มแรก ๆ แล้วต่อไปจะมีเลือดออกแบบกะปริดกะปรอยน้อยลงและเว้นระยะเวลานานขึ้น จนกลายเป็นไม่มีประจำเดือน หรือในบางรายฉีดยาไปแล้วประจำเดือนอาจขาดไปเลยก็มี แต่ไม่มีอันตรายอย่างใดครับ แถมยังช่วยป้องกันโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กได้อีกด้วย (ประจำเดือนไม่มา ไม่ได้หมายความว่าจะมีเลือดคั่งคางอยู่ในร่างกาย เพราะเลือดเสียในร่างกายจะถูกขับออกทางตับและน้ำดีที่ออกมากับอุจจาระและปัสสาวะ) แต่ถ้าอยากให้เลือดออกกะปริดกะปรอยหยุดไหลหรือประจำเดือนไม่มานาน ๆ และอยากให้ประจำเดือนมาก็ไปหาหมอได้เลยครับ เพราะจะมีตัวยาที่กินแล้วจะช่วยให้ประจำเดือนหยุดไหลหรอมาได้
2.        การหลั่งน้ำนมแม่ ผู้ฉีดยาคุมกำเนิดจะมีปริมาณน้ำนมแม่มากกว่าปกติ (ไม่ได้เพิ่มมากนัก) แต่ส่วนประกอบของสารอาหารในน้ำนมแม่ยังคงเป็นปกติ แม้ว่ายาที่ฉีดเข้าไปจะถูกขับออกมาทางน้ำนมได้ แต่ก็มีจำนวนน้อยจนไม่เกิดผลเสียต่อลูกน้อยแต่อย่างใด
3.        น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่กลัวอ้วน ไม่แนะนำให้ใช้วิธีฉีดยาคุมกำเนิด เพราะจากผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ฉีดยาคุมกำเนิดจำนวน 3 ใน 5 รายมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 1-5 กิโลกรัมต่อปี) อีก 1 รายมีน้ำหนักคงที่ ส่วนอีกรายน้ำหนักลดลง แต่จริง ๆ แล้วอาหารก็มีส่วนเยอะครับ จะโทษแต่ยาฉีดคุมกำเนิดอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ถ้าควบคุมอาหารได้ก็ไม่ต้องกังวลอะไรครับ ถ้าใช้ไปแล้วน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 กิโลกรัมหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แพทย์อาจแนะนำให้หยุดใช้ยาแล้วเปลี่ยนไปใช้วิธีคุมกำเนิดอย่างอื่นแทน
4.       ผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย การฉีดยาคุมกำเนิดอาจทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือด การทำงานของตับ และระบบการเผาผลาญสารอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามถ้าเป็นโรคในระบบเหล่านี้อยู่ก็ควรไปปรึกษาหมอก่อนจะฉีดยาคุมกำเนิด หรือในขณะที่ฉีดอยู่แล้วถ้าเป็นก็ควรบอกให้หมอทราบด้วย
5.       ภาวะกระดูกบาง เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสตินจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงและมีผลทำให้มวลกระดูก ความหนาแน่นของกระดูกลดลง แต่จะเป็นผลแบบชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหยุดฉีดยาคุมชนิดนี้แล้ว ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะกลับคืนมาปกติ แต่จากการศึกษาและการรวบรวมรายงานของสุรศักดิ์ ฐานีพานิชกสกุล ไม่พบความแตกต่างระหว่างความแน่นของกระดูกในกลุ่มผู้ฉีดยาคุมกำเนิดนานกว่า 3 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งผลการศึกษานี้แตกต่างจากการศึกษาในสตรีจากนิวซีแลนด์ ที่พบว่าความหนาแน่นของกระดูกลดลง เมื่อใช้ยาฉีดนานกว่า 5 ปี
6.        อาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น อาจมีการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มึนงง ใจสั่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิด อ่อนเพลีย อึดอัดในท้อง ปวดท้อง แต่อาการเหล่านี้ยังไม่แน่นอนครับ เพราะอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้
•        อาการข้างเคียงของยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Cyclofem®) ที่อาจพบได้คือ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เป็นฝ้า จุดด่างดำ มีอาการคัดตึงหน้าอกหรือเต้านม
ข้อดีของการฉีดยาคุมกำเนิด
1.        สามารถรับบริการได้ง่าย เนื่องจากวิธีการและอุปกรณ์สำหรับการให้บริการไม่ยุ่งยาก เลือกให้บริการแก่สตรีทั่วไปได้อย่างกว้างขวาง เพราะยาฉีดมีข้อห้ามในการใช้ยาน้อย
2.        มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก (มากกว่าหรือเทียบเท่ากับการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด)
3.        ราคาถูกเมื่อเทียบกับวิธีคุมกำเนิดแบบอื่น เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ การใส่ห่วงอนามัย
4.       ให้ความสะดวก ใช้งานง่าย ฉีดครั้งเดียวก็สามารถคุมกำเนิดได้นานถึง 3 เดือน โดยไม่ต้องใช้ทุกวันเหมือนยาเม็ดคุมกำเนิด
5.       ไม่ขัดขวางขั้นตอนต่าง ๆ ของการร่วมเพศ
6.        สามารถใช้ได้ดีในขณะให้นมลูก เพราะไม่ทำให้น้ำนมแห้ง
7.        การไม่มีประจำเดือนภายหลังการฉีดมีผลดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง
8.        มีผลพลอยได้ทางด้านสุขภาพอื่น ๆ หลายอย่างตามที่กล่าวมา
ข้อเสียของยาฉีดคุมกำเนิด
1.        จะต้องเสียเวลาไปสถานที่รับบริการบ้างและอาจทำให้ลืมเวลานัดได้
2.        ต้องให้แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางสาธารณสุขเป็นคนฉีดยาให้
3.        ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
4.       ประจำเดือนอาจเปลี่ยนแปลง มาไม่สม่ำเสมอ มากะปริดกะปรอย หรือไม่มีประจำเดือน และหลาย ๆ รายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
5.       เนื่องจากการที่มีเลือดออกแบบกะปริดกะปรอย (ในช่วงแรกของการฉีด หรืออาจจะหลายเดือน) จึงทำให้ต้องใส่ผ้าอนามัยอยู่ตลอดเวลา จะไม่ใส่ก็ไม่ได้ เพราะบางครั้งก็มาโดยไม่ได้นัดแนะ ปัญหาที่ตามมาก็คือทำให้เกิดความอับชื้น มีตกขาว เป็นต้น
6.        เมื่อเกิดอาการข้างเคียงจะต้องรอจนกว่ายาคุมจะหมดฤทธิ์ อาการถึงจะหายไปเอง
7.        เมื่อหยุดฉีดร่างกายจะยังไม่พร้อมมีลูกได้ทันที (มีลูกได้ช้ากว่าการคุมกำเนิดแบบอื่น) โดยอาจจะต้องรอไปเกือบ 1 ปี ทำให้บางคนเข้าใจผิดว่าการฉีดยานาน ๆ จะทำให้เป็นหมัน เรื่องนี้ไม่จริงครับ แต่อาจจะทำให้มีลูกได้ช้าไปไม่ทันใจ 
1.2 ยาฝังคุมกำเนิด (Contraceptive implant )



          ยาฝังคุมกำเนิดหรือ ยาคุมกำเนิดแบบฝัง(Contraceptive implant หรือ Implantable contraception) คือ วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยเป็นการใช้ฮอร์โมนชนิดเดียว คือ โปรเจสติน (Progestin) ที่บรรจุเอาไว้ในหลอดหรือแท่งพลาสติกเล็ก ๆ ขนาดเท่าไม้จิ้มฟันชนิดกลม นำมาฝังเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนจะค่อย ๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกายและไปยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้

การออกฤทธิ์ของยาฝังคุมกำเนิด
          ยาฝังคุมกําเนิด ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เพียงชนิดเดียว จึงทำให้ไม่มีผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เหมือนกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม) โดยฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจากแท่งยาฝังคุมกำเนิดจะมีผลทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนา จึงไม่สามารถโตต่อไปจนตกไข่ได้ เมื่อไม่มีไข่ที่จะรอผสมกับเชื้ออสุจิ จึงไม่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ฮอร์โมนโปรเจสตินที่ปล่อยออกมายังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวจ้น ส่งผลให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่ได้อีกทางหนึ่ง โดยยาฝังคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ดังนี้
•        Implanon® (ฝัง 1 แท่ง คุมกำเนิด 3 ปี) จะเป็นฮอร์โมน Etonogestrel 68 มิลลิกรัม แท่งยาฝังจะค่อย ๆ ปล่อยฮอร์โมนออกมาวันละ 70-60 ไมโครกรัม
•        Jadelle® (ฝัง 2 แท่ง คุมกำเนิด 5 ปี) จะเป็นฮอร์โมน Levonorgestrel 75 มิลลิกรัม ที่ปล่อยฮอร์โมนออกมาวันละ 100-40 ไมโครกรัม ซึ่งระดับฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจะสูงในช่วง ๆ แรก แล้วจะค่อย ๆ ลดลงจนคงที่ระยะเวลาต่อมา

ประสิทธิภาพของยาฝังคุมกำเนิด
          ถ้าจะบอกว่า ยาฝังคุมกำเนิดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงสุด” ก็คงจะไม่ผิด เพราะมีโอกาสล้มเหล้วทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้น้อยมากรองจาก การไม่มีเพศสัมพันธ์” เท่านั้น !! โดยจะมีโอกาสล้มเหลวทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เพียง 0.05% (1 ใน 2,000 คน) ถึงตรงนี้หลายคนคงสงสัยว่า แล้วการทำหมัน การฉีดยาคุมกำเนิด รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด การใส่ห่วงอนามัย รวมถึงการสวมถุงยางอนามัยล่ะ ไม่ใช่วิธีการคุมกำเนิดที่มีอัตราการล้มเหลวต่ำที่สุดหรือ ขอตอบเลยว่า ยังไม่ใช่” ครับ

ผู้ที่เหมาะจะใช้ยาฝังคุมกำเนิด

•        ผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อย ๆ หรือเป็นคนขี้ลืม
•        ต้องการวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุมกำเนิดได้ในระยะยาว (ต้องการคุมกำเนิดในระยะเวลา 3-5 ปีขึ้นไป)
•        ผู้ที่มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น เช่น สตรีที่อยู่ในช่วงกำลังให้นมบุตร (สามารถใช้ได้ถ้าทารกอายุมากกว่า 6 สัปดาห์)

ผู้ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด

•        สงสัยว่าตั้งครรภ์หรือยังไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่
•        ไม่ชอบการฉีดยาหรือไม่ต้องการให้สิ่งใดมาฝังอยู่ใต้ผิวหนัง หรือกังวลเรื่องการมีประจำเดือนผิดปกติ
•        มีปฏิกิริยาไวต่อส่วนประกอบของแท่งบรรจุฮอร์โมน
•        ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือตามอวัยวะเพศต่าง ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เลือดออกได้มากขึ้น
•        มีภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดอาจไปรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือดที่มีหน้าที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวในภาวะเลือดออกได้
•        ผู้ที่สงสัยหรือเป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มะเร็งเต้านม หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจากยาฝังคุมกำเนิดอาจไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามแพร่กระจายได้
•        ผู้ที่เป็นโรคตับ เนื่องจากผลข้างเคียงของยาฝังอาจส่งผลทำให้เกิดตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้
•        มีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจน หรือมีเนื้องอกที่สัมพันธ์กับการใช้โปรเจสโตเจน
•        ส่วนข้อมูลจาก siamhealth.net ระบุว่าผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคลมชัก โรคถุงน้ำดี ไม่ควรใช้ยาฝังคุมกำเนิด
หมายเหตุ : ควรขอคำแนะนำจากแพทย์จะดีที่สุด

ประโยชน์ของยาฝังคุมกำเนิด

•        ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
•        ช่วยลดโอกาสการเกิดอาการซีดจากการมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก
•        ช่วยป้องกันการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้

ผลข้างเคียงของการฝังคุมยาคุมกำเนิด

•        ในระยะเวลา 2-3 เดือนแรก ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือตกขาวมาก ซึ่งเป็นอาการพบได้มากที่สุด แต่ก็พบได้ไม่มากครับ หรือในบางรายประจำเดือนมามากติดต่อกันหลายวัน ไม่มีประจำเดือน หรือประจำเดือนขาดไปเลยก็มีครับ บางครั้งก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 0.05 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ประมาณ 7-10 วัน เพื่อช่วยลดอาการเลือดออกกะปริดกะปรอย
•        บางรายอาจมีอาการปวดท้องน้อยและปวดประจำเดือนบ้างในระยะ 2-3 เดือนแรก
•        ในระยะแรกอาจมีอาการปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
•        แผลที่ฝังยาคุมกำเนิดอาจเกิดการอักเสบหรือมีรอยแผลเป็นได้
•        มีอารมณ์แปรปรวน
•        มีอาการปวดหรือเจ็บเต้านม
•        บางรายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (แต่ปัจจัยหลักคืออาหารครับ ถ้าควบคุมอาหารได้ก็ไม่มีปัญหาอะไร)
•        อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
•        หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น จะมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ
•        ส่วนข้อมูลจาก siamhealth.net ระบุว่ามีผลข้างเคียงทำให้เป็นสิว ขนดก และมีความต้องการทางเพศลดลง (ข้อมูลอื่นไม่ได้ระบุไว้)

ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด

1.        ประสิทธิภาพภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก (สูงที่สุดในโลก) รองจากการไม่มีเพศสัมพันธ์ ชนิดที่ว่ายาเม็ดคุมกำเนิดก็เทียบไม่ติด !!
2.        เป็นวิธีที่มีความสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี (แล้วแต่ชนิดของยา)
3.        ไม่ต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน จึงช่วยลดโอกาสการลืมกินยา หรือลดโอกาสฉีดยาคลุมคลาดเคลื่อนไม่ต้องกำหนด ที่ต้องไปฉีดยาทุก ๆ 1-3 เดือน
4.       เนื่องจากยาฉีดคุมกำเนิดมีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ไม่ได้รับผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเหมือนการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นฝ้า ฯลฯ
5.       สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตรหรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น
6.        ใช้ได้ดีในผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะไม่มีผลต่อการหลั่งของน้ำนม
7.        ไม่ทำให้การทำงานของตับเปลี่ยนแปลง
8.        หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด เนื่องจากฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อยและไม่มีการสะสมในร่างกาย
9.        มีผลพลอยได้จากการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น ทำให้อาการปวดประจำเดือนมีน้อยลงลดโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกลดอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจาง ฯลฯ


ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด

1.        การฝังและการถอดจะต้องทำโดยแพทย์ที่ได้รับการอบรมแล้ว (ไม่สามารถถอดหรือฝังโดยแพทย์ทั่วไปได้) จึงไม่สามารถใช้หรือถอดได้เอง
2.        ในบางรายสามารถคลำแท่งยาในบริเวณท้องแขนได้
3.        ประจำเดือนอาจมาแบบกะปริดกะปรอย จึงทำให้ต้องใส่ผ้าอนามัยอยู่เสมอ จะไม่ใส่ก็ไม่ได้ เพราะบางครั้งก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งหลาย ๆ กังวลกับปัญหาเหล่านี้ (แต่เมื่อผ่านระยะหนึ่งปีขึ้นไปแล้ว ปัญหาเหล่านี้จะน้อยลง)
4.       อาจพบภาวะแทรกซ้อนหลังการฝังยาคุมกำเนิดได้ เช่น มีก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิวหนัง
5.       อาจพบว่าตำแหน่งของแท่งยาเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม (พบได้น้อย)

1.3 วงแหวนคุมกำเนิด

วงแหวนคุมกำเนิด

          วงแหวนคุมกําเนิดหรือ วงแหวนช่องคลอด (Birth Control Ring) คือ วงแหวนสำหรับใส่ช่องคลอดที่เรียกว่า นูวาริง” (NuvaRing®) มีลักษณะเป็นแหวนพลาสติกขนาดเท่ากำไลข้อมือ มีขนาดเส้นกลางศูนย์กลางประมาณ 5.5 เซนติเมตร (มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 54 มิลลิเมตร และมีความหนา 4 มิลลิเมตร) ผลิตมากจากวัสดุที่เรียกว่า เอธิลีนไวนิลอะซิเตทโคโพลิเมอร์” ซึ่งผิวมีลีกษณะเรียบ โปร่งใส ไม่มีสี ตัววงแหวนนุ่มและยืดหยุ่น ไม่ละลายในร่างกาย ภายในวงแหวนพลาสติกจะบรรจุไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนคล้ายกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่เราใช้กันอยู่ โดยจะประกอบไปด้วย Etonogestrel (โปรเตสโตเจน) 11.7 มิลลิกรัม และ Ethinyl estradiol (เอสโตรเจน) 2.7 มิลลิกรัม โดยมีไว้ใช้สำหรับใส่เข้าไปในช่องคลอดและฮอร์โมนจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งในปัจจุบันในบ้านเราเริ่มมีใช้กันแล้วนะครับ

การทำงานของวงแหวนคุมกำเนิด

          วงแหวนคุมกำเนิดจะใช้สำหรับใส่เอาไว้ในช่องคลอดเดือนละ 3 สัปดาห์ หรือ 21 วัน (ใส่วงแหวนวันแรกที่มีประจำเดือน) หลังจากใส่เข้าไปแล้ว ฮอร์โมน Etonogestrel (โปรเตสโตเจน) และ Ethinyl estradiol (เอสโตรเจน) ที่มีอยู่ในวงแหวนจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดทันที โดยจะปล่อยฮอร์โมนออกมาในปริมาณต่ำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (ปล่อยฮอร์โมน Etonogestrel วันละ 0.12 มิลลิกรัม และปล่อย Ethinyl Estradiol วันละ 0.015 มิลลิกรัม) ซึ่งฮอร์โมนที่ถูกปล่อยออกมานั้นจะไปยับยั้งรังไข่ในการปล่อยไข่ออกมาแต่ละเดือน จึงทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ พอครบ 21 วันแล้วก็ถอดออกมา 7 วันเพื่อเป็นการพักร่างกาย (หลังจากถอดแหวนคุมกำเนิดออกประมาณ 2-3 วัน ประจำเดือนก็จะเริ่มมา แต่มาไม่มากหรือเพียงบางเบา) เมื่อครบเจ็ดวันแล้วจะต้องใส่วงแหวนเข้าไปในช่องคลอดใหม่ จนครบ 21 วัน แล้วก็ถอดออกเว้นไปอีก 7 วัน แล้วจึงค่อยใส่วงแหวนเข้าไปใหม่



ผู้ที่เหมาะจะใช้วงแหวนคุมกำเนิด

•        เหมาะสำหรับผู้หญิงทุกคนที่ต้องการความสะดวกในการคุมกำเนิด หรือมักลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประจำ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งแทนการใส่ห่วงคุมกำเนิดหรือใช้ยาฝังคุมกำเนิด

ผู้ที่ไม่ควรใช้วงแหวนคุมกำเนิด

•        ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้
•        ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนบางประเภทมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน เช่น โรคอ้วน เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดอักเสบ มีเลือดอุดตันที่ขา รวมถึงเส้นเลือดในสมองแตก หรือหัวใจวายโรคตับหรือตับทำงานผิดปกติเป็นมะเร็งเต้านมมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ที่มีพยาธิสภาพทางการแพทย์บางประการซึ่งจำกัดให้ไม่สามารถใส่วงแหวนคุมกำเนิดได้ รวมไปถึงผู้ที่ให้นมทารกที่ต่ำกว่า 6 เดือน
•        นอกจากนี้ตัวยาบางชนิดอาจเป็นตัวยับยั้งประสิทธิภาพการทำงานของวนแหวนคุมกำเนิดได้ อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อนว่าการใช้วงแหวนคุมกำเนิดมีอันตรายหรือไม่ เพราะแพทย์เท่านั้นที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่คุณจะตัดสินใจ

ผลข้างเคียงของวงแหวนคุมกำเนิด

•        ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะรู้สึกเป็นปกติหลังจากใช้วงแหวนคุมกำเนิด แต่ในบางรายก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติ เช่นอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกเจ็บเต้านม เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้มักจะหายไปเองหลังจาก 1-2 เดือน ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงเนื่องจากการใส่วงแหวนช่องคลอดมักจะไม่ค่อยมี อย่างไรก็ตามคุณควรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น

ข้อดีของวงแหวนคุมกำเนิด

1. เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
2. เหมาะสำหรับผู้หญิงทุกคนที่ต้องการคามสะดวกในการคุมกำเนิด หรือมักลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประจำ
3. ช่วยลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมน เนื่องจากตัววงแหวนจะค่อย ๆ ปลดปล่อยฮอร์โมนออกมาในระดับต่ำและคงที่ จึงช่วยลดอาการข้างเคียงต่าง ๆ จากฮอร์โมนได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริดกะปรอย ช่วยลดสิว ลดหน้ามัน ลดขนดก และไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวแต่อย่างใด
4. สวมใส่และถอดออกได้ง่ายด้วยตัวเอง (คล้ายกับการเหน็บยาในช่องคลอด)
5. ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
6. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ โดยไม่มีผลต่อความรู้สึกทางเพศ หรือทำให้เกิดการระคายเคืองหรือมีผลข้างเคียงใด ๆ ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง (ไม่ทำให้เกิดการตกขาวหรือติดเชื้อในช่องคลอด แต่จะทำให้สภาวะแวดล้อมในช่องคลอดเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อช่องคลอด จึงทำให้ช่องคลอดไม่แห้ง การตกขาวติดเชื้อจึงเกิดได้น้อยลง)
7. เป็นการดูดซึมฮอร์โมนเฉพาะที่ จึงไม่รบกวนระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมด ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
8. ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า ณ ขณะนี้ยอดขายวงแหวนคุมกำเนิดใน USA เพิ่มขึ้นสูงมากมาก เพราะมีผลสำรวจเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ที่พบว่าการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้มีความง่ายต่อการใส่และถอดออก และไม่มีผลกระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ และผู้หญิงมากกว่า 97% ยังรู้สึกพึงพอใจมากับการใช้วงแหวนคุมกำเนิดนี้ด้วย

ข้อเสียของวงแหวนคุมกำเนิด

1. แม้ในปัจจุบันวงแหวนคุมกำเนิดจะมีขายตามร้านขายยาก็ตาม แต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ใบสั่งของแพทย์ในการซื้อ
2. ในครั้งแรกที่ใส่วงแหวนคุมกำเนิด จะยังไม่สามารถคุมกำเนิดได้ทันที จำเป็นต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย
3. ในบางรายใส่แล้วอาจเกิดการระคายเคืองช่องคลอด ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อในช่องคลอดและทำให้มีตกขาวมากขึ้นได้
4. ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้



อ้างอิง : FAMILY PLANNING NSW. “ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง”. [ออนไลน์]. www.fpnsw.org.au.  [09 ต.ค. 2015].        
(นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ). การฉีดยาคุมกำเนิด”. ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bangkokhealth.com. [08 ต.ค. 2015].
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิร). การฉีดยาคุมกำเนิด”. [ออนไลน์]. haamor.com.  [08 ต.ค. 2015].     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น