การคุมกำเนิดความหมายของการการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด
การวางแผนครอบครัว (Family planning) หมายถึง “การที่บุคคลหรือคู่สมรสวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อ
1. หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา หรือตั้งครรภ์ในขณะที่ยังไม่พร้อม ทั้งด้านร่างกายจิตใจ และสังคม
2. ควบคุมระยะเวลาที่จะตั้งครรภ์ ให้เหมาะสมกับอายุและสุขภาพของร่างกาย
3. ให้มีการตั้งครรภ์เมื่อต้องการ
4. เว้นระยะการมีบุตรอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้มารดาและบุตรที่เกิดมามีสุขภาพดี ได้รับการเลี้ยงดูอบรมให้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ” (ชวนชม สกนธวัฒน์, 2540)
การคุมกำเนิด (Contraception) หมายถึงการป้องกันการปฏิสนธิ หรือการป้องกันการตั้งครรภ์มนุษย์เริ่มรู้จักการคุมกำเนิด หลังจากที่มนุษย์ทราบกระบวนการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ ในสมัยโบราณแนะนำให้หลั่งข้างนอก ตลอดจนให้งดร่วมเพศในกรณีที่ไม่ต้องการมีบุตร ถุงยางอนามัยในยุคเริ่มต้นถูกสร้างจากลำไส้ใหญ่ของสัตว์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์
ความสำคัญของการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด
ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมามีการประกาศว่า ขณะที่ประชากรบนโลกมีจำนวนครบ 7000 ล้านคนแล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว คือเพิ่มถึง 1000 ล้านคน ในเวลาเพียง 12 ปี จากจำนวนประชากร 6000 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2000 พ.ศ.2543 นับวันประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ทรัพยากรลดลงอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการคุมกำเนิดหรือการวางแผนครอบครัวปัญหาการขาดแคลนปัจจัยสี่ต้องตามมาอย่างแน่นอน ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากร 70 กว่าล้านคน (ข้อมูล2554)มีอัตราการเกิดเป็น 12.9 ต่อ1000 คนอย่างไรก็ตามอัตราการเกิดของคนไทยยังอยู่ในระดับดี ทั้งนี้เป้นผลมาจากการที่ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนได้ช่วยกันรณรงคืให้ความรู้ เรื่องการวางแผนครอบครัวกับประชาขนอย่างดีเสมอมา
การวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม การมีบุตรที่จำนวนเหมาะสมจะทำให้ครอบครัวมีคุณภาพมากที่สุด บุตร-ธิดาจะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่ การเลี้ยงดูบุตร1 คนตั้งแต่เล็กจนสามารถเลี้ยงชีพได้ต้องมีค่าใช้จ่ายมากมาย ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาค่าใช้จ่ายด้านปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุงห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค)ซึ่งนับวันจะยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นทุกที การมีบุตรจำนวนมากจะมีผลกระทบต่อสุขภาพมารดาและทารกอย่างมากด้วย (ประนอม บุพศิริ 2554)
ชีวิตคู่สมรส
1.การเลือกคู่ครอง
ไม่ใช่ความรัก ความชอบเกิดขึ้นได้และอาจเปลี่ยนไปในชั่วระยะเวลาสั้นๆ ไม่ยืนนาน ”
จุดเริ่มต้นที่สำคัญของชีวิตสมรสคือ การเลือกคู่ครอง เพราะการตัดสินใจในการเลือกคู่ครองนั้น เป็นการตัดสินใจที่สำคัญในชีวิตของคนเรา ผลจากการตัดสินใจในการเลือกคู่ครอง หมายถึง ความสุขความสมหวังหรือความล้มเหลวในชีวิตของคู่สมรส ฉะนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงานเราควรคิดอย่างรอบคอบและเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม เพราะการวางรากฐานที่มั่นคงหรือการตั้งต้นที่ดีนั้น หมายถึง ได้ประสบความสำเร็จในชีวิตไปแล้วครึ่งหนึ่งนั่นเอง
การเลือกคู่ครองนับได้ว่าเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องของโชคหรือดวงชะตาแต่อย่างใดการเลือกคู่ครองจึงควรใช้เหตุผลมากกว่าที่จะใช้อารมณ์โดยพิจารณาคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะได้รับเลือกเพื่อคาดหวังผลสำเร็จในอนาคตโดยอาศัยหลักการที่ว่าการค้นพบสิ่งที่อาจทำให้ผิดพลาดได้ก่อน ย่อมดีกว่ามาพบในภายหลังเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างสายเกินไปแล้ว
เมื่อคนเราเกิดความสนใจต่อเพศตรงข้ามและเริ่มปรับตัวเข้ากับเพศตรงข้ามแล้ว ความพึงพอใจหรือความสนใจเป็นพิเศษที่มีต่อเพศตรงข้ามจะเกิดขึ้นตามมาวัยรุ่นส่วนมากมักคิดว่าความพึ่งพอใจที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความรักที่ตนมีต่อเพศตรงข้าม ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วความพึงพอใจกับความรักนั้น แตกต่างกัน
ความพึงพอใจหมายถึงการสะดุดตาสะดุดใจในรูปร่างหน้าตาน้ำเสียหรือลักษณะที่น่าประทับใจบางอย่างในบุคคลที่เราสนใจทำให้เกิดความรู้สึกคลั่งไคล้นึกถึงอยู่ตลอดเวลาความพึงพอใจมักจะเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและเกิดขึ้นได้เสมออย่างไรก็ตามความพึงพอใจอาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่จะทำให้เกิดความรักได้
ความรักเป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่แสดงต่อบุคคลหรือสิ่งของการแสดงออกของความรักจะเป็นความปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ๆและช่วยเหลือทำงานให้กลับคนที่เรารัก ความรักมีหลายประเภท เช่น รักตนเอง รักเพื่อน รักเพื่อนต่างเพศความรักเป็นความรู้สึกที่ฝังอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคงและเปลี่ยนแปลงได้ยาก
ความรักเป็นสิ่งเริ่มต้นที่จะชักจูงให้ชายและหญิงต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน และเป็นสิ่งเชื่อมความรู้สึกของคน 2 คนไว้ด้วยกัน ผู้ที่จะเลือกมาเป็นคู่ครองจึงควรเป็นผู้ที่ตนรักและรักตนผู้ที่มีความรักให้แก่กันอย่างแท้จริงจะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแต่งงานกัน
หลักทั่วไปในการเลือกคู่ครอง
ในการเลือกคู่ครอง นอกจากจะพิจารณาพื้นฐานด้านความรักที่ชายและหญิงมีให้แก่กันและกันแล้ว ควรพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย ดังนี้
1. เชื้อชาติ โดยทั่วไปคนเชื้อชาติเดียวกันย่อมมีภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่เหมือนกัน คู่ครองที่มีเชื้อชาติเดียวกันจึงมักจะเข้าใจกันได้ง่าย ถ้าหากเป็นคนละเชื้อชาติก็อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจกัน และอาจเกิดปัญหาการอพยพหรือย้ายกลับภูมิลำเนากับคู่สมรส ทำให้ชีวิตคู่ต้องแยกหรือพลัดพรากจากกันได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม คู่สมรสที่มีเชื้อชาติต่างกันก็ไม่ใช่ว่าชีวิตสมรสจะล้มเหลวเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่การปรับตัวของคู่สมรส ถ้าได้ใช้ความพยายามอย่างแท้จริงในการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขได้
2. ศาสนา เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายในการ อบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี ละเว้นความชั่ว ส่วนหลักการและพิธีกรรมต่างๆ ของแต่ละศาสนาย่อมมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ถ้าหากคู่สมรสนับถือศาสนาเดียวกัน ความเชื่อถือศรัทธาและการปฏิบัติตนตามพิธีกรรมทางศาสนาก็จะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่หากนับถือศาสนาต่างกันก็อาจจะมีปัญหากระทบต่อการดำเนินชีวิต เช่น คนหนึ่งจะไปวัดอีกคนไปโบสถ์ หรือเกิดปัญหาข้อขัดแย้งว่าจะให้บุตรที่เกิดมานับถือศาสนาอะไร เป็นต้น การตัดสินใจเลือกคู่ที่นับถือศาสนาต่างกันจึงจำเป็นต้องพยายามปรับตัวเข้าหากัน และไม่ควรนำประเด็นทางศาสนามาเป็นข้อโต้แย้งว่าศาสนาของงใครดีกว่าของใคร เพราะปัญหานี้ไม่มีข้อสรุปและอาจนำไปสู่ความแตกแยกในชีวิตสมรสได้ง่าย
3. การศึกษา การที่คู่สมรสมีระดับการศึกษาสูงหรือจบปริญญา แม้จะไม่ใช่เครื่องรับประกันความสำเร็จของชีวิตสมรสได้อย่างแน่นอนก็จริงอยู่ แต่จากตัวอย่างชีวิตสมรสจำนวนมากได้ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีการศึกษาสูงมีแนวโน้มในการประสบความสำเร็จในชีวิตได้มากกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการศึกษาช่วยทำให้บุคคลเจริญงอกงามทั้งทางร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชีวิตสมรสหรือชีวิตครอบครัวเป็นอย่างมากและจากการศึกษาวิจัยโดยทั่วไปมักพบว่า คู่สมรสที่มีสติปัญญาและระดับการศึกษาใกล้เคียงกันมักจะมีโอกาสประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตสมรสมากกว่าคู่สมรสที่มีระดับการศึกษาต่างกันมาก เพราะระดับการศึกษาที่ใกล้เคียงกันจะช่วยทำให้คู่สมรสพูดจากันรู้เรื่องและเข้าใจกันได้ง่าย แต่หากคู่สมรสมีระดับการศึกษาต่างกัน ฝ่ายชายควรจะเป็นฝ่ายที่มีการศึกษาสูงกว่า ถ้าฝ่ายหญิงมีการศึกษาสูงกว่าฝ่ายชายมาก อาจทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัวของฝ่ายชายได้
4. ฐานะทางเศรษฐกิจ ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจหรือฐานะการเงินนับเป็นข้อที่ควรพิจารณาอีกประการหนึ่งในการเลือกคู่ เพราะถ้าคู่สมรสมีฐานะทางการเงินไม่ดีการหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ในขณะที่ครอบครัวต้องขยายตัวออกไป สมาชิกใหม่ในครอบครัวก็จะต้องเพิ่มขึ้น อาจมีผลกระทบให้เกิดปัญหาชีวิตครอบครัวได้ เว้นเสียแต่คู่สมรสนั้นจะต้องทำงานหนักเพื่อเพิ่มพูนรายได้และรู้จักประหยัดในการใช้จ่าย จึงจะทำให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
5.บุคลิกภาพ คนเรามีบุคลิกภาพไม่เหมือนกันบุคลิกลักษณะที่เป็นเสน่ห์อยู่ในตัวบุคคลก็แตกต่างกันออกไปด้วย เช่นขนาดของร่างกาย รูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง ท่วงทีวาจาอุปนิสัยใจคอ ความสนใจ ค่านิยม รสนิยม อุดมคติ ความประพฤติ ฯลฯ ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างพันธุกรรมและประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคลเมื่อคนเราจะเลือกคู่ครองจึงจำเป็นจะต้องพิจารณาบุคลิกภาพ บุคลิกลักษณะของผู้ที่จะมาเป็นคู่ครอง หรือคู่ชีวิตของตนเองในอนาคตด้วยว่าบุคลิกภาพและบุคลิกลักษณะดังกล่าว เหมาะสมกับตนหรือไม่ ตนพอใจยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันในชีวิตสมรสหรือไม่ ดังนั้นการศึกษาเรื่องบุคลิกภาพของคู่ครองก่อนแต่งงานจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และชีวิตสมรสที่มีความสุขจะต้อง ประกอบด้วยบุคลิกภาพของชายและหญิงที่เข้ากันได้ และจะต้องทราบอุปนิสัยใจคอต่างๆ ของคู่สมรสก่อนแต่งงาน แม้ว่าบุคลิกภาพของคนเราจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของอีกฝ่ายหนึ่งภายหลังการแต่งงานกันแล้ว ก็อาจจะเสี่ยงต่อความผิดหวังในชีวิตสมรสได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ
6. วุฒิภาวะทางอารมณ์ การที่ร่างกายของชายและหญิงเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่และพร้อมที่จะให้กำเนิดบุตรได้ มิได้หมายความว่า บุคคลผู้นั้นพร้อมที่จะแต่งงาน หรือมีครอบครัวได้ การแต่งงานหรือการสมรสจำเป็นต้องอาศัยความเจริญเติบโตของจิตใจ หรือความมีวุฒิภาวะทางอารมณ์เป็นหลักสำคัญประกอบด้วย เพราะผู้ที่บรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์ย่อมเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวให้มีความสุขกับครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ความสามารถในการปรับตัวนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตสมรสที่ประสบความสำเร็จ
บุคคลที่มีวุฒิภาวะอารมณ์ อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมเหล่านี้
- เป็นผู้ที่รู้จักและเข้าใจตนเองได้ดี
- เป็นผู้รู้จักและเข้าใจผู้อื่นได้ดี
- เป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับความจริงแห่งชีวิตได้ดี
- ตัดสินใจได้เอง เมื่อทำผิดก็ยอมรับผิด
- มองอนาคตด้วยความหวัง และเต็มใจรอคอย
- เข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
- มีจิตใจมั่นคง และไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ได้ง่าย
- มีอารมณ์ขัน และมองโลกในแง่ดี
- ยอมรับกติกาหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม
- มีความสุขุมรอบคอบ รู้จักเหตุผล และรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว
- รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบสูง
- สามารถประเมินผลการกระทำของตนเองได้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ของบุคคลได้แก่ อายุ ผู้ที่มีอายุมากจะเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย และจากการศึกษาพบว่า อายุที่เหมาะสมกับการมีคู่ครองนั้นผู้ชายควรจะมีอายุระหว่าง 27-30 ปี ผู้หญิงควรมีอายุระหว่าง 21-25 ปี และไม่ควรแตกต่างกันเกิน 10 ปี เพราะความต่างวัยจะทำให้คู่สมรสปรับตัวเข้าหากันได้ยาก เนื่องจากความต้องการและความสนใจในกิจกรรม
การเลือกคู่ครองที่ดี
พื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองเรือนอยู่กันได้ยืดยาวเรียกว่าสมชีวิธรรมมี 4 ประการคือ
1. สมศรัทธา มีศรัทธาเสมอกันหนักแน่เสมอกันปรับตัวเข้าหากันลงได้
2.สมสีลา มีศีลเสมอกัน คือความประพฤติจรรยา มารยาท พื้นฐานการสอดคล้องกันไปได้
3.สมจาคา มีจาคเสมอกัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีใจกว้างพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
4.สมปัญญา ปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผลเข้าใจกันอย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง
สถานบันครอบครัวจัดว่าเป็นสถาบันที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญมากที่สุดเหมือนกับ สมาชิกในครอบครัวนั้นจะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของคนทุกคนที่จะต้องนำไปใช้เพื่อคุณภาพของคนในครอบครัว
การวางแผนครอบครัว เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในทุกด้าน เริ่มแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย และอาชีพ การเงิน รวมไปถึงการแต่งงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการวางแผนครอบครัว เ
หลักเกณฑ์ในการเลือกคู่ครอง
1. ความรักและความพึงพอใจ
2. วุฒิภาวะของคู่สมรส ได้แก่
- อายุ
- สุขภาพกาย
- วุฒิภาวะทางอารมณ์
- ระดับสติปัญญา
3. บุคลิกภาพ
4. ศาสนาและวัฒนธรรม
5. ฐานะทางเศรษฐกิจ
ความพร้อมในด้านต่างๆ เป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับชีวิตสมรส การเตรียมตัวก่อนการสมรส นอกจากการวางแผนจัดงานตามประเพณีแล้ว คู่สมรสควรพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.ความพร้อมด้านอารมณ์ โดยปกติอายุเป็นส่วนหนึ่งของความพร้อมด้านอารมณ์ดังนั้นคู่สมรสจึงควรสำรวจตนเองว่ามีความพร้อมที่จะเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตสมรสหรือไม่
2.ความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตคู่ คู่สมรสควรมีอาชีพหรือรายได้ก่อนแต่งงาน
3.ความพร้อมด้านสุขภาพคู่สมรสควรปรึกษาแพทย์ก่อนแต่งงานเพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด ถ้ามีปัญหาจะได้แก้ไข
การตรวจสุขภาพก่อนสมรส
1. สุขภาพทั่วไป เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2. ค้นหาความบกพร่องทางด้านร่างกายที่เป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
3. การตรวจกลุ่มเลือด เพื่อให้ทราบถึง โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เพื่อสามารถระมัดระวังและป้องกันตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ได้
กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับ การให้สมรส
ตามกฎหมาย ยินยอมให้กระทำการสมรสได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ โดยได้รับความยินยอมจากพ่อแม่และผู้ปกครอง แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 17 ปี ก็สามารถทำการสมรสได้แต่ต้องขออนุญาตจากศาล นอกจากนี้ตามกฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขแห่งการสมรสว่า ห้ามบุคคลต่อไปนี้ทำการสมรสกัน เช่น เป็นคนวิกลจริต เป็นญาติสืบสายเลือดเดียวกัน ผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
อ้างอิง : สุวชัย อินทรประเสริฐ. (2535). การวางแผนครอบครัวประชากรและเทคโนโลยีการคุมกำเนิด. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
.
ตอบลบ